วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 4

Moday 8 July 2013

กิจกรรมวันนี้

     การทดลองของอากาศ โดยการนำน้ำใส่ขวดที่เจาะรูไว้จะมีน้ำไหลออก แต่เมื่อปิดฝาขวดน้ำหยุดไหล เพราะการนำฝามาปิดเป็นการปิดทางเดินอากาศที่เข้ามาไม่ได้ทำให้เกิดแรงดนน้ำ น้ำจึงไมไหลออก

ชม VDO เรื่องมหัจรรย์ของน้ำ









ฝนเกิดจาก : เกิดจากการระเหยของน้ำที่ลอยขึ้นไปบนฟ้าแลวไปรวมตัวกับก้อนเมฆ เกิดการกระทบกับความเย็นบนท้องฟ้า จึงกลายเป็นหยดน้ำที่เรียกว่า ฝน

คุณสมบัติของน้ำ

 น้ำแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ

1.ของแข็ง :น้ำแข็ง
2.ของเหลว : น้ำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ก๊าซ : การระเหยเป็นไอ

การเปลี่ยนสถานะของน้ำ

1.ต้มน้ำให้เดือดแล้วระเหยกลายเป็นไอ
2.ก๊าซที่เปลี่ยนเป็นของเหลวเรียนว่าหยดน้ำ

- น้ำจะระเหยเฉพาะส่วนบนของน้ำที่มีพื้นที่หน้ากว้างจะระเหยได้รวดเร็ว
-น้ำสามารถขยายตัวได้มีโมเลกุลที่ขยายตัวแบบหลวม ๆ เพิ่มขึ้น 12%
-น้ำมีโมเลกุลที่หนาแน่นกว่าน้ำแข็ง
-น้ำเกลือมีค่าความหนาแน่นกว่าน้ำธรรมดา

การทดลองตกปลาน้ำแข็ง

     นำผ้าพันแผลวางบนน้ำแข็งแล้วนำเกลือมาโรยบนผ้าพันแผล จะทำให้ผ้าพันแผลติดกับน้ำแข็ง จึงเรียนว่า ตกปลาน้ำแข็ง
คณสมบัติของเกลือ : เกลือดูดความร้อน

-น้ำอยู่ลึกความกดดันยิ่งหนัก
-น้ำที่มีระดับเท่ากันความลึกก็จะเท่ากัน แม้ว่าขนาดที่ใส่น้ำไม่เท่ากันก็ตาม

แรงตึงผิว คือ เมื่อผิวน้ำสัมผัสกับอากาศเกิดความยืดหยุ่น เมื่อนำเข็มมาใส่ลงในน้ำแต่เข็มกลับไม่จมน้ำ

- สบู่มีสารลดแรงตึงผิว
- ทำไมเรือไม่จม เพราะเรือมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ


Week 3

Moday 1 July 2013

กิจกรรมในวันนี้

          อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาทำของเล่นวิทยาศาสตร์ เป็นสมุดเล่มเล็กด้านในมีรูปภายปริศนา ซึ่งเป็นภาพต่อเนื่อง และอีกหนึ่งชิ้นเป็นการวาดภาพ 2 ด้านทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะได้เป็นของเล่นที่เรียนกได้ว่า เป็นของเล่นที่เห็นภาพซ้อนกัน ดังรูป




 
 
ของเล่นวิทยาศาสตร์ชิ้นที่ 1 สอนให้เห็นการมองภาพที่ต่อเนื่อง
 
 
 

ของเล่นวิทยาศาสตร์ชิ้นที่ 2 สอนในเรื่องของการเห็นภาพที่ซ้อนกัน
 


ชม VDO เรื่อง ความลับของแสง

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จาก เรื่อง ความลับของแสง



 



- คลื่นแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 3 แสนกิโลเมตร/วินาที่
- การมองเห็นวัตถุต่าง ๆนั้นเกิดจากแสงลงมาโดนวัตถุต่าง ๆ สะท้อนจากวัตถุมาสู่ตาของเราด้วย

คุณสมบัติของแสง
-แสงเดินทางเป็นเส้นตรงและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง

วัตถุที่สามารถมองเห็น
1. วัตถุโปร่งใส คือ เห็นวัตถุได้ชัดเจน เช่น กระจกใส พลาสติกใส เป็นต้น
2.วัตถุโปร่งแสง คือ เห็นวัตถุไม่ชัดเจน เช่น ฝ้า เป็นต้น

-ทำไมภาพกลับหัวได้ เพราะว่าแสงมันวิ่งเป็นเส้นตรงและตกกระทบด้านบนของจอภาพ จึงเกิดเป็น
ภาพกลับหัว

กระบวนการของแสง
- การสะท้อนของแสงจะสะท้อนไปยังมุมตรข้าม
-การส่งกระจกที่มีองศาแคบลงเท่าไหร่ก็จะได้ภาพมากเท่านั้น
-รุ้งกินน้ำเกิดในทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์

แสงกับเงาเป็นสิ่งคู่กัน


 

Week 2

Moday 24 June 2013

กิจกรรมในวันนี้

1. จับกลุ่ม  6 คนเพื่อทำความเข้าใจกับหัวข้อต่อไปนี้

  1. ความหมาย
  2.ความสำคัญ
  3.สติปัญญา
  4.การเรียนรู้
  5.แนวคิดพื้นฐาน
  6.ทักษพะและกระบวนการ

           กลุ่มที่ดิฉันได้ทำเรื่อง แนวคิดพื้นฐานแนวคิดพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย


     1. การเปลี่ยนแปลง  คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเปลี่นแปลงของบุคคล การเปลี่ยนแปลงของเวลา การเปลี่ยนแแปลงของสถานที่ เป็นต้น

     2.ความแตกต่าง คือ  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ย่อมเกิดความแตกต่าง เช่น สภาวะครอบครัว ชาย - หญิง การดำรงชีวิตมนุษย์กับสัตว์ เป็นต้น

     3.การปรับตัว คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ย่อมมีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในการดำรงคชีวิต เช่น จิ้งจกเปลี่ยนสี สภาพฤดูกาล การดำรงค์ชีววิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

     4.การพึ่งพา คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ย่อมต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันและการเพื่อการอยู่รอด เช่น นกเอี้ยงกับควาย คนกับเงิน คนกับธรรมชาติ เป็นต้น

     5. ความสมดุล คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ ปลาตัวใหญ่กินปลาตัวเล็ก ส่วนสูงกับน้ำหนัก เป็นต้น

ภาพกิจกรรม



 
 
 
  

2. ชม VDO เรื่อง อากาศมหัศจรรย์
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จาก เรื่องอากาศมหัศจรรย์





   - การทดลองของกระดาษ โดยนำน้ำใส่ลงไปในแก้วเกียบเต็มและนำกระดาษมาปิดบนปากแก้ว จากนันจับแก้วน้ำคว่ำปากลงโดยมีกระดาษปิดอยู่

     ผลปรากฎว่า กระดาษไม่หลุดออกจากแก้ว เพราะระหว่ากระดาษกับน้ำมีอากาศกั้นอยู่ และกระดาษก็ไม่เปียกน้ำด้วย

   - การทดลองการปิดกั้นทางเดินอากาศ โดยการนำขวดน้ำ 2 ขวด ขวดหนึ่งมีน้ำอยู่ในขวด อีกขวดเป็นขวดเปล่า จากนั้นนำขวดเปล่ามาครอบปากขวดที่มีน้ำอยู่และสลับขวดบนลงล่าง พบว่าน้ำเกิดการเคลื่อนที่มาอยู่อีกขวดหนึ่ง แต่เมื่อนำดินน้ำมันมาปิดระหว่างปากขวดทั้ง 2 ขวด
     ผลปรากฎว่าน้ำไม่มีการเคลื่อนที่ เพราะมีดินน้ำมันปิดกั้นทางเดินของอากาศ

   - การชั่งน้ำหนักของอากาศ โดยการนำลูกโป่ง 2 ใบ มาชั่งน้ำหนักกัน อีกลูกหนึ่งปล่อยลมออกและอีกลูกหนึ่งมีลมอยู่อยู่ในลูกโป่ง
     ผลที่ได้ คือ ลูกโป่งทีมีลมอยู่จะหนักกว่าลูกโป่งที่ไม่มีลม

   - อากาศร้อนจมีน้ำหนักเบาจะลอยสูงขึ้น เช่น บอลลูน โคมลอย เป็นต้น

Week 1

Monday 17 June  2013  

 
 

กิจกรรมในวันนี้





 

นำไปใช้ในวิชาชีพอย่างไร